ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ภาษาปรากฤตเขียนด้วยอักษรพราหมี ซึ่งเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาบาลี ในทางประวัติศาสตร์ การใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ทางศาสนาครั้งแรกเกิดขึ้นที่ศรีลังกา เมื่อราว พ.ศ. 443 แม้การออกเสียงภาษาบาลีจะใช้หลักการเดียวกัน แต่ภาษาบาลีเขียนด้วยอักษรหลายชนิด ในศรีลังกาเขียนด้วยอักษรสิงหล ในพม่าใช้อักษรพม่า ในไทยและกัมพูชาใช้อักษรขอมหรืออักษรเขมรและเปลี่ยนมาใช้อักษรไทยในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2436 และเคยเขียนด้วยอักษรอริยกะที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นเวลาสั้นๆ ในลาวและล้านนาเขียนด้วยอักษรธรรมที่พัฒนามาจากอักษรมอญ นอกจากนั้น อักษรเทวนาครีและอักษรมองโกเลียเคยใช้บันทึกภาษาบาลีเช่นกัน
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา สมาคมบาลีปกรณ์ในยุโรปได้พัฒนาการใช้อักษรละตินเพื่อเขียนภาษาบาลี โดยอักษรที่ใช้เขียนได้แก่ a ā i ī u ū e o ṁ k kh g gh ṅ c ch j jh ñ ṭ ṭh ḍ ḍh ṇ t th d dh n p ph b bh m y r l ḷ v s h
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5
อ่านเข้าใจง่ายค่ะเนื้อหาชัดเจน
ตอบลบ😅😅😅😅😅😅😅
ตอบลบ😅😅😅😅😅😅😅
ตอบลบฝึกเขียนได้ง่ายมากจ้า
ตอบลบฝึกเขียนได้ง่ายมากจ้า
ตอบลบ