หน่วยภาษาบาลี แบ่งเป็นหน่วยเสียงสระ และหน่วยเสียงพยัญชนะ ดังนี้
- หน่วยเสียงสระ มีด้วยกัน 8 ตัว หรือ 8 หน่วยเสียง ได้แก่ อะ อา อิ อี เอ อุ อู โอ
- หน่วยเสียงพยัญชนะ มีด้วยกัน 33 ตัว หรือ 33 หน่วยเสียง (ในภาษาสันสกฤต มี 34 หน่วยเสียง) โดยแบ่งเป็นพยัญชนะวรรค 25 ตัว และพยัญชนะอวรรค 8 ตัว
- ตารางแสดงหน่วยเสียงในภาษาบาลี ตามแหล่งเสียง (วรรค) เขียนด้วยอักษรไทยและอักษรโรมัน
วรรค | สระ | อโฆษะ (ไม่ก้อง) | โฆษะ (ก้อง) | นาสิก | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
รัสสระ (สั้น) | ทีฆสระ (ยาว) | สิถิล (เบา) | ธนิต (หนัก) | สิถิล (เบา) | ธนิต (หนัก) | ||
กัณฐชะ | อะ a | อา ā | กฺ k | ขฺ kh | คฺ g | ฆฺ gh | งฺ ṅ |
ตาลุชะ | อิ i | อี ī, เอ e | จฺ c | ฉฺ ch | ชฺ j | ฌฺ jh | ญฺ ñ |
มุทธชะ | - | - | ฏฺ ṭ | ฐฺ ṭh | ฑฺ ḍ | ฒฺ ḍh | ณฺ ṇ |
ทันตชะ | - | - | ตฺ t | ถฺ th | ทฺ d | ธฺ dh | นฺ n |
โอฏฐชะ | อุ u | อู ū, โอ o | ปฺ p | ผฺ ph | พฺ b | ภฺ bh | มฺ m |
อวรรค (เศษวรรค) ได้แก่ ยฺ (y) รฺ (r) ลฺ (l) วฺ (v) สฺ (s) หฺ (h) ฬฺ (ḷ) อํ (ṃ)
- ตารางแสดงเสียงสระในบาลี
1. | สระ อะ | a | [a], aṃ [ã] | สระกลาง-ต่ำ | เสียงสั้น | ปากไม่ห่อ |
2. | สระ อา | ā | [aː] | สระกลาง-ต่ำ | เสียงยาว | ปากไม่ห่อ |
3. | สระ อิ | i | [i], iṃ [ĩ] | สระหน้า-สูง | เสียงสั้น | ปากไม่ห่อ |
4. | สระ อี | ī | [iː] | สระหน้า-สูง | เสียงยาว | ปากไม่ห่อ |
5. | สระ อุ | u | [u] | สระหลัง-สูง | เสียงสั้น | ปากห่อ |
6. | สระ อู | ū | [uː], uṃ [ũ] | สระหลัง-สูง | เสียงยาว | ปากไม่ห่อ |
7. | สระ เอ | e | [eː] หรือ [eˑ] | สระหน้า-กลาง | เสียงยาวหรือเสียงกึ่งยาว | ปากไม่ห่อ |
8. | สระ โอ | o | [oː] หรือ [oˑ] | สระหลัง-กลาง | เสียงยาวหรือเสียงกึ่งยาว | ปากห่อ |
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5
เอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เลยค่ะ
ตอบลบเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เลยค่ะ
ตอบลบ